วันพุธที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2557

DB2 กับ RPG ภาค2

ผู้ที่ระบบที่ใช้ต่อเนื่องมานาน เกิน 15 ปี
น่าจะพบปัญหาเดียวกันนี้น๊ะครับ

Q1: Physical File = สร้างโดยไม่ระบุ Primary Key (Unique)

    แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า  Primary Key คือ อะไร ?
    การ Insert/Update/Delete จะชี้ได้ถูกต้อง อย่างไร ?

A1: ถ้าระบบฯ  มีอยู่แล้ว
    - เชื่อว่า โปรแกรม Maintenance ดั้งเดิม  ทำงานถูก  ได้ช่วยไกด์เรา
    - ตรวจสอบซ้ำ (จากตัว data)

SQL :  Select   Primary Keys  ,count(*) From Lib.File    
      Group by Primary Keys     
      Having   count(*) > 1

ถ้ามี  rows ออกมา  แสดงว่า  Primary Keys ไม่ถูกต้อง

อธิบาย
- Primary Keys (มีมากกว่า 1 Field ได้)
- ตามนิยาม เมื่อชี้ข้อมูลด้วย  Primary Keys จะพบแค่ 1 row เท่านั้น
- หลังการ  กรองค่า (Having)  ถ้า Primary Keys ถูกต้อง  ต้องไม่มี rows แสดงออกมา

อืนๆ - บางที่  จะมีการเก็บ ข้อมูลที่ "ลบ" ไว้ใน File  (ทำให้  ข้อมูลกลุ่มนี้  ไม่เป็นไปตามกฏ)
ดังนั้น ต้องแยกข้อมูลกลุ่มนี้  ออกไปก่อน  
เช่น itemNo ถ้าลบ จะใส่  "#" นำหน้า  ป้อนแล้วลบ  2 ครั้ง  จะมีรายการนี้ซ้ำ 2 รายการ

    - ตรวจจาก Business Concept
      เช่น   Stock File  (ItemNo, ItemName, WH , Loca, Vendor, OnHandQty)
               นิยามว่า   ItemNo  จัดวางอยู่ที่  พื้นที่ (WH,Loca)
               Primary Keys = ItemNo, WH(WareHouse),Loca

               นิยามว่า   ItemNo  จัดวางอยู่ที่  พื้นที่ (WH,Loca)  โดยต้องแสดงแยกตาม Vendor
               Primary Keys = ItemNo, WH(WareHouse),Loca, Vendor

               >> จะเห็นว่า  ถ้าใครโชคดี  ใช้ DB ที่มีโครงสร้างสมบุรณ์  (มี Field มาก)
แต่ไม่ได้กำหนด Primary Key ไว้   สามารถเดา  "ได้หลากหลาย"

Q2: ทำไม สร้าง Field ใน Logical File เหมือนใน Physical File

       สร้างแตกต่าง  ระดับ Field ได้หรือไม่ ?
A2: ได้ครับ
       ดั้งเดิม  เราจะทำให้มัน  เข้าใจ(จำ)ง่าย - เป็นเทคนิคที่ดีสำหรับระบบขนาดใหญ่
       แต่ระบบ DB ปัจจุบัน  ที่สอนกัน (จนเป็นมาตรฐาน)
       แยกเรียก Logical File  ว่า Index กับ View    
       - View   ว่าสร้างเพื่อให้  คนอื่น  ใช้งานง่าย หรือ จำกัด Security 
       - Index   ทำเพื่อความเร็วในการ Access 


CL - สร้างโปรแกรมช่วย ลดการทำงาน-1

CL - สร้างโปรแกรมช่วย ลดการทำงาน-1

CL = Control Language เป็นภาษาที่ใช้จัดการ  คำสั่ง  บน OS/400
ถ้าเทียบกับ Windows  ก็คือ เขียน/สร้าง Batch File เพื่อใช้คำสั่งย่อย ต่อเนื่องกัน

เทคนิคช่วยลด เวลา  ในการทำงานซ้ำๆได้ครับ

ตย. ทุกเดือนต้อง Backup Data  (เช่น Lib1/File1 -> LibB/FileH) โดยกำหนดขั้นตอนดังนี้
(1). แยกข้อมูลตาม ช่วงเวลา (เช่น  1 member ต่อ 6 เดือน เป็นต้น)
(2). เมื่อย้ายข้อมูลเสร็จ  จะนำข้อมูล
    2.1 จัดเก็บใน  Cartridge
    2.2 จัดเก็บใน  History Server (ที่ราคาถูกกว่า เช่น MS SQL Server)
          ต้องรวม Member กลับไปเป็น 1 Member
          (LibB/File1-หลาย member -> LibH/FileH 1 member)

ผมสนใจข้อ 2.2 ซึ่งต้องทำแบบ Manual ดังนี้
a. ตรวจดูว่า LibB/File1  มี member ชื่ออะไรบ้าง ? ด้วยคำสั่ง
    DSPFD  FILE(LibB/File1)  TYPE(*MBRLIST)
    (จดรายชื่อไว้)
b. Copy รวม data ด้วยคำสั่ง
    CPYF  FROMFILE(LibB/File1)   TOFILE(LibH/FileH)   FROMMBR(ระบุชื่อ)  TOMBR(*FIRST)   MBROPT(*ADD)

ตย. มี 10  File แต่ละ File มี 5-10  member ที่ชื่ออ่านยาก    การทำแบบ Manual  จะใช้เวลา "นาน" และเสี่ยงที่จะผิดพลาด (จดชื่อผิด)

เราจะสร้างโปรแกรมช่วย ลดการทำงาน ในข้อ 2.2 กัน
โดยสร้างโปรแกรม และทำงานดังนี้   CALL   BK2HT   (LibB   File1     LibH  FileH)

สร้าง CL  โดยปรับขั้นตอนตามนี้
(รับค่า   &LibB  &File1  &LibH  &FileH)
a. DSPFD FILE(&LibB/&File1) TYPE(*MBRLIST)  OUTPUT(*OUTFILE)  OUTFILE(QTEMP/A)
Loop อ่าน File  QTEMP/A
       b. CPYF  FROMFILE(&LibB/&File1)   TOFILE(&LibH/&FileH)  
                       FROMMBR
(&mlname)    TOMBR(*FIRST)   MBROPT(*ADD)

จากนั้น  เพิ่มรายละเอียดต่างๆ  เช่น
- ตรวจ Lib/File ต้องมี
- ถ้ามี File แต่ไม่มี Member
- ...

มาดู code  BK2HT แบบเต็มๆกัน

---------------------------------------------------------------------
PGM        PARM(&LIBB &FILE1  &LIBH  &FILEH)                  
                                             
DCLF       FILE(A)                    
DCL        VAR(&LIBB)    TYPE(*CHAR) LEN(10)  
DCL        VAR(&FILE1)   TYPE(*CHAR) LEN(10) 
DCL        VAR(&LIBH)    TYPE(*CHAR) LEN(10)  
DCL        VAR(&FILEH)  TYPE(*CHAR) LEN(10) 

CHKOBJ OBJ(&LIBB/&FILE1) OBJTYPE(*FILE)
MONMSG     MSGID(CPF9801) EXEC(GOTO CMDLBL(STP090)

CHKOBJ OBJ(&LIBH/&FILEH) OBJTYPE(*FILE)
MONMSG     MSGID(CPF9801) EXEC(GOTO CMDLBL(STP090)

DSPFD FILE(&LibB/&File1) TYPE(*MBRLIST)  OUTPUT(*OUTFILE)  OUTFILE(QTEMP/A)

/*-- Start Loop --*/
STP010:
  RCVF                                               
  MONMSG     MSGID(CPF0864) EXEC(GOTO CMDLBL(STP090))
  CPYF  FROMFILE(&LibB/&File1)   TOFILE(&LibH/&FileH)  
        FROMMBR
(&mlname)    TOMBR(*FIRST)   MBROPT(*ADD)

GOTO       CMDLBL(STP010)

/*-- End Loop --*/
STP090:
ENDPGM
---------------------------------------------------------------------
ก่อน compile  ให้เรียกใช้คำสั่งข้อ  a.  ก่อน (เพื่อสร้าง Object = QTemp/A)

อื่นๆ

เทคนิคนี้ใช้บ่อย   ได้กับงานที่เรียกใช้ CL Cmd ติดต่อกัน
- ตรวจ data size ในระบบ file ไหนมีขนาดใหญ่ เกินกำหนด
- ตรวจ job ที่ (กำลัง) ทำงานใน subsystem
- ...

ตย. ข้างต้น  เมื่อดุดีๆ  จะพบว่า  ถ้าปรับขั้นตอน  (1)  ให้ไปเก็บใน LibH/FileH 1 member เลย  ก็ไม่ต้องทำ 2.2     ที่ไม่ทำเพราะ  (1) เป็นโปรแกรมที่เก่ามาก  และมีเทคนิคเฉพาะหลายอย่าง ... การปรับถือว่าไม่คุ้ม


วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การใช้ Array

การใช้ Array

หลักการ           

Array = มักใชักับชุดของตัวแปร    แทนที่จะประกาศตัวแปรที่มีลักษณะเหมือนกันหลายๆตัว เช่น  X1,X2,X3   โดยเพียงระบุ  X(1), X(2), X(3)   อ่านว่า X ลำดับ(element) ที่  1, X ลำดับที่ 2, X ลำดับที่ 3
Array ของ RPG/400 มีข้อจำกัดพอสมควรเมื่อเทียบกับภาษาสมัยใหม่อื่นๆ  เช่น  ทำได้แค่ 1 มิติเท่านั้น

ตัวอย่างที่ใช้งานบ่อยๆ
- เดือน 1 มีชื่อย่อว่า JAN      Mth(1) = JAN,  Mth(2) = FEB
- รวมค่าใช้จ่าย  แยกตามเดือน   Amt(1),Amt(2),…  เก็บค่าใช้จ่ายของเดือน 1,2, …
- รวมยอดขาย  แยกกลุ่มสินค้า   Gam(1),Gam(2),…  เก็บยอดขายกลุ่มสินค้า 1,2, …
- การค้นหา  อักษร ที่ต้องการ (วิธีใหม่ ใช้ Scan)
- การจัดการ String เช่น  ชื่อกลุ่มงาน ที่ 2 อักษร หลัง “-“ (MT-Z1001 -> Z1) , ตัดอักษรหลัง ตัวเลข  (608ZZ -> 608, R-1560HHMT -> R-1560)

รูปแบบการสร้าง ตัวแปร Array

I.  Array ว่างๆ  เป็นตัวแปรสำหรับใช้งาน
II. Array  ที่กำหนดค่าให้เลย   ด้วยตารางข้อมูลท้ายโปรแกรม
III. Array ที่อ่านจาก File โดยตรง 

I. การประกาศค่า Array ว่างๆ

รูปแบบที่ใช้กันบ่อย
ในการสร้างรายงานข้อมูลการขายสินค้าทั้งเดือน (เรียงตาม Invoice No) 
- แต่ต้องการให้ ให้ "สรุป" รวมค่าตามแต่ละรายการสินค้า  ท้ายรายงาน

ปรกติ ที่ท้ายโปรแกรม จะเพิ่มเปิด Logical-file ที่เรียงตามงาน   อ่านแล้วคำนวน
          หลายคนไม่ใช้วิธีนี้  เนื่องจาก  อาจจะพบบางกรณีที่รวมค่าแล้วไม่เท่ากับ  รายการด้านบน!  เพราะมีข้อจำกัดเฉพาะแทรกอยู่
ทางแก้ไข คือ ก่อนจะพิมพ์รายงาน (ด้านบน) ให้รวมค่าเก็บไว้ในตัวแปร 

ประกาศตัวแปร Array
E....FromfileTofile++Name++N/rN/tbLenPDSArrnamLenPDSComments+
E                    AR21       50 15   AQ22    7 2
ได้ AR21[...ขนาด 15 อักษร   จองพื้นที่ไว้ 50 ตัว 
     AQ22[…] ตัวเลข  7,2  (xx,xxx.xx  จองพื้นที่ไว้ 7 หลัก  2 หลักเป็นทศนิยม )  จองตัวแปรไว้ 50 ตัว

ลบค่าใน Array ทิ้ง  มักจะประกาศไว้ครั้งแรก (อยู่ก่อนเข้า Loop อ่านข้อมูล)
มักจะกำหนดตัวชี้ Element สุดท้ายใน Array  (เช่น  M2)
C....Factor1+++OpcdeFactor2+++ResultLenDHHiLoEqComments
C              CLEARAR21
C              CLEARAQ22
C              Z-ADD0         M2

ตรวจค่าใน Array ด้วย LookUp
ถ้าพบ  สะสมค่า, ถ้าไม่พบ ให้จัดเก็บค่าไว้ใน Array 

รูปแบบที่ใช้กันบ่อย
C....Factor1+++OpcdeFactor2+++ResultLenDHHiLoEqComments
C              Z-ADD1         I#      30
C    ItemNo    LOKUPAR21,I#                 80
C    *IN80     IFEQ ‘1’                       Found
C              ADD  qty       AQ22,M2
C              ELSE                           Not-Found
C              ADD  1         M2
C              MOVEItemNo     AR21,M2
C              Z-ADDqty       AQ22,M2
C              ENDIF
นำ ItemNo (ค่าจาก File)  ค้นหาใน Array  AR21   โดยเริ่มต้นลำดับที่ตามค่า I# (ควรเริ่มที่ 1)  
ถ้าพบ *Indicator จะ On (‘1’)   ตัวแปร I#  จะบอกลำดับที่พบ

ตย. ต้องการตัด  “IN”  ทิ้ง ใน  ITEM   เช่น  เป็น  “FISH IN OIL”  กลายเป็น “FISH  OIL”
ใช้ Array มาเก็บข้อมูล ด้านซ้าย และ ด้านขวา  โดยตรวจจาก ตำแหน่ง
ค่าเริ่มต้น                     ค่าสุดท้าย
1...5....0.       1...5....0
FISH IN OIL       FISH  OIL
                a.ค้นหาตำแหน่ง  "IN"  ใน ITEM 
                                a.1 พบเริ่มต้น  ตำแหน่งที่ 6     (จัดเก็บใน  I#)
                                a.2 "IN" มีความยาว 2 อักษร  ตำแหน่งถัดไป คือ 8  (6 + 2)  (จัดเก็บใน J#)
                b.นำอักษรถัดไป ถึงแม้ว่าจะเป็นช่องว่าง (X#5)  มาแทนที่  ตำแหน่งเริ่มต้นที่พบ IN

                เลือกใช้คำสั่งที่เหมาะสมได้  ดังนี้
E....FromfileTofile++Name++N/rN/tbLenPDSArrnamLenPDSComments+
E                    AR1        50  1
C*---  
               “IN“      SCAN ITEM,1   I#             80 a.
*IN80     IFEQ ‘1’                         Found
I#        ADD  2        J#                 a.2
          MOVEAITEM     AR,1
          MOVEAAR,J#    X#5
5         SUBSTITEM:J#  X#5               Or
          MOVEAX#5      AR,I#              b.
          END

ตย. อ่านข้อมูล   ได้ กลุ่มสินค้า เก็บใน  str    และ ยอดขาย  เก็บใน qty 
ต้องการรวม  ยอดขาย  ตาม  กลุ่มสินค้า การประกาศค่า โดย
                AR21                      ใช้เก็บ  กลุ่มสินค้า
                AQ22                      ใช้เก็บ  ยอดรวมจำนวน

E....FromfileTofile++Name++N/rN/tbLenPDSArrnamLenPDSComments+
E                    AR21       50 15   AQ22    7 2
C*…
C....Factor1+++OpcdeFactor2+++ResultLenDHHiLoEqComments
C              CLEARAR21
C              CLEARAQ22
C              Z-ADD0          M2
C*
C*---KEY1      SETLL file
C*---KEY1      READE file
C*---*IN80     DOWEQ '0'
C*
C              Z-ADD1         I#      30
C    str       LOKUPAR21,I#                 80
C    *IN80     IFEQ ‘1’                       Found
C              ADD  qty       AQ22,M2
C              ELSE
C              ADD  1         M2
C              MOVEstr        AR21,M2
C              Z-ADDqty       AQ22,M2
C              ENDIF
C*---
C*---          EXCPT DTL010
C*---KEY1      READE file
C*---          ENDDO
C*----
C*
C              XFOOTAQ22      T#QTY
C              DO   M2        I#
C              MOVELAR21,I#   O#ITNO
C              Z-ADDAQ22,I#   O#QTY
C              EXCPTTTL010
C              ENDDO

Xfoot                      รวมค่าใน Array ทั้งหมด (อยู่หลัง Loop อ่านข้อมูล)
รูปแบบที่ใช้กันบ่อย
C....Factor1+++OpcdeFactor2+++ResultLenDHHiLoEqComments
C              XFOOTAQ22      T#QTY
Tip          บางคนหลีกเลี่ยงคำสั่งดังกล่าวด้วยการเพิ่มคำสั่งลักษณะนี้ลงไป (เข้าใจง่ายแต่  อาจทำให้โปรแกรมทำงานหนักขึ้น)
C....Factor1+++OpcdeFactor2+++ResultLenDHHiLoEqComments
C              ADD  qty       T#QTY

Sort                        การเรียงลำดับใน Array
รูปแบบที่ใช้กันบ่อย
C....Factor1+++OpcdeFactor2+++ResultLenDHHiLoEqComments
C              SORT AR1    
ระวัง       หลังการเรียง  ข้อมูลกลุ่มที่เป็น Blank จะแสดงก่อน
                ทางแก้ไข   การนำไปใช้  ต้องเลือกรายการที่ไม่เป็น Blank
                Array ที่สร้างแบบเรียกใช้เป็นคู่ AR21, AQ22  การ SORT จะตัวเดียว จะทำให้ลำดับคู่ใน AQ22  ผิด
                ทางแก้ไข   รวม  AR21  กับ AQ22  ให้เป็น Array ตัวเดียวกัน  (ทำหลัง Loop อ่าน Data)  แล้วจึงเรียงลำดับ
C....Factor1+++OpcdeFactor2+++ResultLenDHHiLoEqComments
C              DO   M2        I#
C              MOVELAR21,I#   AR1              LEFT
C              MOVE AQ22,I#   AR1              RIGHT
C              ENDDO
C*
C              SORT AR1
C*
C              DO   M2        I#
C              MOVELAR1,I#    O#ITNO           LEFT
C              MOVE AR1,I#    O#QTY            RIGHT
C    O#ITNO    IFNE *BLANKS
C              EXCPTTTL010
C              ENDIF
C              ENDDO

ตย.  จากข้อมูลต่อไปนี้  (Logical File : Key = Order)
Order   Item   Qty
111          A      10
222          A      10
333          B      15
444          A      10
ใช้ Array  รวมค่าและแสดงผลรวม ท้ายรายงาน  ลักษณะนี้
# Total   =   45
         A       30
         B       15
E              AR21      50  15     AQ22   7 2
C*…
C              CLEARAR21
C              CLEARAQ22
C              Z-ADD0        M2         30
C    STP010    TAG
C*   -------------
C              EXFMTDSP01
C KA           GOTO STP020
C*
C              EXCPTHED010
C    KEY12     SETLLOrderL1
C              READ OrderL1                 80
C*   -------------------------------
C    *IN80     DOWEQ’0’
C*
C              Z-ADD1        I#         30
C    ITEM      LOKUPAR21,I#                 80
C    *IN80     IFEQ ‘1’                       Found
C              ADD  qty      AQ22,M2
C              ELSE
C              ADD  1        M2
C              MOVELITEM     AR21,M2
C              Z-ADD         AQ22,M2
C              ENDIF
C*
C OF           EXCPTHED010
C              EXCPTDTL010
C*
C              READ OrderL1                 80
C              ENDDO
C*   -------------------------------
C    STP020    TAG
C*   -------------
C              EXCPTHED010
C              XFOOTAQ22     G#QTY
C              EXCPTGRD010
C*
C              DO   M2       I#
C              MOVELAR21,I#  T#ITEM
C              Z-ADDAQ22,I#  T#QTY
C              EXCPTTTL010
C              ENDDO
C*
C              SETON                        LR
C LR           RETRN

II. Array  ที่กำหนดค่าให้เลย   จากตารางข้อมูลท้ายโปรแกรม

                ข้อสังเกต    กำหนดค่าใน E-Spec มี 3 ชุดตัวเลข  โดยเพิ่มจำนวน Data ใน 1 แถวข้อมูล
                ตารางข้อมูลท้ายโปรแกรม  ต้องวางท้ายโปรแกรมจริงๆ   โดยเริ่มต้นที่ด้วย  **  (Col.1,2)
                ถ้ามีมากกว่า 1 ตาราง  RPG จะเลือกแบบเลียงลำดับ
0010.00      E....FromfileTofile++Name++N/rN/tbLenPDSArrnamLenPDS
0011.00      E                    MT1     1  12  3
0012.00      E                    MT2     3  12  2
0013.00      C*…
FMT **   ...+... 1 ...+... 2
0076.00 ** For MT1 1 Line Contain 1 Data            
0077.00 JAN
0078.00 FEB
0080.00 MAR
0081.00 APR
0082.00 MAY
0083.00 JUN
0084.00 JUL
0085.00 AUG
0086.00 SEP
0087.00 OCT
0088.00 NOV
0089.00 DEC
0090.00 ** For MT2 1 Line contain 3 Data
0091.00 010203
0092.00 040506
0093.00 070809
0094.00 101112
สร้างโปรแกรมทดสอบ  
                รับค่า      เดือน (เลขที่)          W1MTH2
                Enter
                แสดงค่า  เดือน (อักษร)         W1MTH3

            MoveL*blanks  W1MTH3
            Z-add1        i#
W1MTH2      LokupMT2,i#             80
*in80       IFEQ ‘1’                    Found
            MoveLMT1,i#   W1MTH3
            ENDIF

III. Array  ที่กำหนดค่าให้เลย  จาก File

การกำหนดข้อมูลจาก File   ก็ต้องไปประกาศ  File ที่จะใช้  ดังนี้
             FFilenameIPEAF....RlenLK1AIOvKlocEDevice+......
0009.00      FFILE1   IT  F       3           EDISK
0010.00      E....FromfileTofile++Name++N/rN/tbLenPDSArrnamLenPDS
0011.00      E                    M1      1  12  3




วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

มาทำรายงานกัน (ต่อ)


มาทำรายงานกัน (ต่อ)


บทความที่แล้วพูดถึง  “วิธีการคิด” ภาพรวม ... อาจจะดูซับซ้อนไปนิด (ดูบ่อยๆ ก็คุ้นๆน๊ะครับ)
ตย.1 สร้างรายงาน  ที่อ่านข้อมูล  100 %) ต่อไปนี้  
รายงานที่ต้องการ

วิเคราะห์  รูปแบบรายงาน

               จากแนวคิด  ต้องออกแบบรายงาน โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนๆ ได้แก่  ส่วนหัวกระดาษ  (Head)   ส่วนรายละเอียด (Detail)   และ ส่วนท้ายรายงาน   (ในที่นี้  ผมไม่ได้ควบคุม Footer)
ส่วนหัว   แยกเป็น  ส่วนที่เป็น Standard (ประกาศให้รู้ว่า report มาจากอะไร) + ชื่อ Column 


  • แสดงชื่อโปรแกรมที่เรียก  (ให้ใช้ ตัวแปรจาก I-spec ด้วย  SDS)
  • Description
  • วัน/เวลา ที่สั่งพิมพ์                วันที่ใช้ ตัวแปรพื้นฐานได้ *DATE
  • หน้า (page)           O-Spec มีตัวแปรให้
  • ชื่อ Column           (ขึ้นกับ data)

Tip  ใน RPG/400 กำหนด Font ชนิด Underline ไม่ได้   ต้องสั่งพิมพ์  2 ครั้ง  (อักษร, เส้นใต้)   มักจะใช้เทคนิคสั่งพิมพ์บรรทัดเดิม  (บรรทัดแรก  สั่งพิมพ์  โดย “ไม่ขึ้นบรรทัดใหม่” ->  บรรทัดที่ 2 ตีเส้นใต้  แล้วขึ้นบรรทัดใหม่)

ส่วนรายการ                         ขึ้นกับ data
ส่วนท้ายรายงาน                 บอกให้รู้ว่า  สิ้นสุดแล้ว (ถ้าไม่แสดง  ทำให้รู้ว่า  โปรแกรมหยุดทำงานแบบผิดปรกติ)
                                             บางโปรแกรมจะเพิ่ม  การแสดงสรุปที่จุดนี้  (จำนวนรวม)

ก่อนเขียน โปรแกรม

Q1: จะพิมพ์บน  รูปแบบกระดาษอย่างไร ?         (ยุคใหม่  คือ  กระดาษ A4)  
A1: เครื่อง Main Frame. Mini Comp จะมี  Line Printer ซึ่งพิมพ์ได้เร็ว และใช้งานได้นาน (แพงด้วย)  เช่น พิมพ์ pay slip, รายงานสรุป (ที่ต้องเก็บไว้อ้างอิง) เป็นต้น
      รูปแบบกระดาษ ของ AS/400 ที่มีมาให้คือ  QPRINT, QSYSPRT, QUSRPRT
      ดูรายละเอียดได้ด้วยคำสั่ง  DSPFD   QPRINT 
  (ปรกติจะดูช่องที่แสดง)
Q2: จะพิมพ์ตำแหน่ง อะไร ?  (ดูไม่ auto – ถ้าไปลองทำให้เหมือนใน MS Office ก็ต้องกำหนดยุ่งยากคล้ายกัน)
A2: การสั่งพิมพ์  ต้องควบคุมทีละ บรรทัด!   เช่น
         “เมื่อกระดาษ  พร้อมจะพิมพ์”   
         เริ่มต้นพิมพ์  ส่วนหัวกระดาษ  ให้เลื่อนกระดาษขึ้นไป  2 บรรทัด  ก่อนพิมพ์
         ส่วนหัวกระดาษ  ให้พิมพ์ข้อความ,ตัวแปร  ที่ตำแหน่ง ... (นับจากท้าย หรือ นับถัดไป)
         ส่วนหัวกระดาษ  พิมพ์บรรทัดแรกเสร็จ  ต้องพิมพ์ “ซ้ำ” อีกครั้ง   แล้วจึงขึ้นบรรทัดใหม่

Source Code



คำอธิบาย Source Code

Format ของ Date ใช้แบบ YYYYMMDD
ใช้ File=SQ010L1 ,Input = อ่านอย่างเดียว ,Field อ้างอิงจาก External      (ไม่กำหนดใน I-Spec) ,เปิดใช้ Key
ใช้ Printer File=QPRINT ,Output = บันทึกอย่างเดียว  ,Field กำหนดในเอง (ใน O-Spec)
     , 
ความกว้าง 132 อักษร, ใช้ *inOF เป็นตัวบอกว่าถึง OverFlow ของ Printer File แล้ว
     , ควบคุมการเปิด
/ปิด Printer File เอง (User Control)
ดึงชื่อ โปรแกรมผ่าน เป็นตัวแปร  (ไม่ต้องไป fix ค่าใน O-spec)
ประกาศ F-Spec … UC ต้องสั่ง OPEN ก่อนใช้งาน Printer File
ก่อนพิมพ์ HED010 (Skip Before) เลื่อนกระดาษ 3 บรรทัด

ก่อนพิมพ์ HED010 (Space Before) เลื่อนกระดาษ (0 บรรทัด)
หลังพิมพ์ HED010 (Space After) เลื่อนกระดาษ 1 บรรทัด (ขึ้นบรรทัดใหม่)
B = Blank ให้ Clear ค่านี้หลังพิมพ์
2= Edit Code(2) รูปแบบการพิมพ์  (มี comma, ไม่แสดงเครื่องหมาย -, ถ้าค่าเป็น 0 จะแสดงช่องว่าง, … (ดูตารางด้านล่าง)

 รายงานที่ดูจาก OutQ


สังเกต เนื่องจากใช้เทคนิค  พิมพ์ทับ 2 ครั้ง  หัวกระดาษจะมองไม่เห็น 
       (ทางแก้ไขคือ  พิมพ์เส้นใต้  "ก่อน"  พิมพ์อักษร)