วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2562

วิธีใช้หนังสือ RPG

วิธีใช้หนังสือ RPG

หนังสือของ IBM จัดเป็นหนังสือที่ดีครับ!
หนังสือที่ใช้บ่อย จะจัดเป็น 2 กลุ่ม - ใช้ให้เหมาะ!

A. เรียน Step by Step ชื่อหนังสือ จะลงท้ายด้วย  User 's Guide
ทริค  บางเรื่องจะสอน "ลึกไป" (เราไม่ได้ใช้ ) ไม่ต้องอ่านทุกเรื่อง

B. ใช้ค้นหา  จาก "คำ" (ต้องรู้ศัพท์) ชื่อหนังสือ จะลงท้ายด้วย Reference Guide
        (สารบัญ  เรียงตาม ชื่อคำ, หมวด-> ชื่อคำ)
ทริค  ปัจจุบัน  ค้นใน internet เร็วกว่า 

RPG Step by Step

- ต้องรู้  Environment ก่อน
       OS/400 - ต้องไปดู  Basic Operator User 's Guide
            Tip  เรียนรู้เฉพาะที่เกี่ยวกับ การเขียน Code ได้
                    คำสั่ง  เรียกใช้ Editor , Compile , ตรวจผล Compile
        Database - ถ้าบริษัทฯ ไม่ แยก DB-Admin  ออกมา ต้องไปดู Database User 's Guide
            Tip  บริษัทที่เปิดใช้มานาน การสร้าง Table ใหม่จะมีน้อย
- ลำดับการเรียน ทั่วไป
         Hello World :  เรียกใช้แบบ  ไม่มีหน้าจอ (ส่ง msg), ส่งค่าผ่าน line command
         รายงานแบบง่าย   เรียกใช้ Database  (ไม่ใช้ Key)
              - ไม่มีหน้าจอ (ส่ง msg), ส่งค่าผ่าน line command         
         เพิ่ม เรียนรู้คำสั่ง  เช่น If , Loop แบบง่าย
         สร้างหน้าจอ และ เรียกใช้  (เพิ่มคำสั่ง ที่เกี่ยวข้อง)
         เรียกใช้  File แบบมี Key (เพิ่มคำสั่ง)
         โปรแกรม CRUD - Create Read, Update,Delete
         SubFile
         Array
- ภาษา CL
- ภาษา RPGILE
- ภาษา SQL Source  (อันนี้ผมไม่ได้ใช้)

RPG Reference

ใช้ค้นหา "คำศัพท์"  เช่น  คำสั่ง CHAIN ใช้อย่างไร ?
หนังสือ จะเรียงลำดับตาม "อักษร"

การค้นใน Internet   จะสะดวกกว่า
Tip   "ต้องเพิ่ม" Keyword ที่สำคัญด้วย  เช่น  IBM RPG  CHAIN

                CHAIN  = คำสั่งใน RPG  หรือ  แปลว่า  "โซ่"   ... ศัพท์กว้างไป
                RPG = เป็นได้ทั้ง ภาษา RPG หรือ เกมส์ RPG

ตย. เปิดดูผลลัพธ์
จาก  .pdf


รุ่น RPG-III, RPG/400  *indicator NR (no rows)   On = ไม่มี data


ตย. Code ที่ใช้บ่อย 
       นำรหัสพนักงาน  ไปค้นใน table   ถ้าพบ (Not *in80) ให้นำค่า Name มาแสดง
                     w1Emp    CHAINtable                                  80
    N80                           MOVELempNm        w2EmNm


ดูโดยตรงจาก internet

คำสั่ง Chain = ข้อมูลค้นหา -> File -> ผลลัพธ์ (พบ/ไม่พบ)

R่PG ILE  ส่วนของ Indicator  *indicator NR (no rows)   OFF = ไม่มี data
(ไม่เหมือนกับ  RPG-III หรือ RPG/400)
เป็นผลจาก  RPG_ILE  ใช้คำว่า %FOUND  ซึ่ง On  = พบ



"แนวทาง ที่ควรทำ ?" 

30 ปีที่แล้ว  หลังซื้อเครื่องมา จะได้หนังสือมา "ชุดใหญ่"
(ตอนนั้นจำได้ว่า  มากกว่า 40 เล่มหนาๆ)

คนสอน-1 : อ่านเท่าที่สอน
คนอ่าน : ครับ   หนังสือภาษาอังกฤษ  2 เล่ม ใหญ่ๆ

คนสอน-2 (พี่หมู,พี่เดิ้ล,พี่สไปรท์) : อ่านทั้งหมด นั้นแหล่ะ จะเห็นภาพครบ
คนอ่าน : ทั้งหมด!

ขอบคุณ คนสอน-2 ครับ   สิ่งที่อ่านทำให้ ได้เครื่องมือดีๆ มาช่วยงาน
(ต้องรู้ว่า "มี" และ เลือกใช้ให้เหมาะ)
เช่น  หนังสือ  STRRLU มาช่วยออกแบบ Printer File  - ทำได้เร็วกว่า

        บริษัทเมโทร  ได้ผลิตหนังสือภาษา RPG ฉบับภาษาไทย  (ว้าว)
        แต่ยุคนั้น ที่บริษัท เริ่มใช้ RPG-III  (หนังสือจะเน้น  RPG-II) จึงใช้อธิบายได้บางส่วน

20 ปีที่แล้ว  มีเนื้อหา  หนังสือ เกิดขึ้น "มากกว่าเดิม" (เทคโนโลยีเริ่มเปลี่ยน)
- Web เริ่มแพร่หลาย (แบบเขียนได้ง่ายขึ้น)
- API ติดต่อกับ VB, ASP
IBM ได้ออกหนังสือ กลุ่มใหม่ เรียกกัน "Red Book" (ปก "สีแดง"   น่าอ่านมาก)
   และเนื้อหาค่อนข้างกระชับ

ช่วงนี้   IBM ได้เปลี่ยนหนังสือเป็น pdf  (ให้เป็น CD แล้วต่อมา Download ได้ผ่าน Internet)
ผมเข้าถึง หนังสือ ได้สะดวก  ทำให้นำมาช่วยแก้ปัญหาได้
เช่น  ผมมีโจทย์ว่า  ทำไม การ Backup วิธีทำกันอยู่  จึง "ยุ่งยาก"  (ช้า)
         - หนังสือที่อ่าน  บอกให้รู้ว่า  มีวิธีอื่น  โดยเราต้องจัดสภาพแวดล้อม "ให้เหมาะ"

ขอบคุณ

- ผมไปขออ่าน  "เอกสารสอนวิชา Database ของ IBM"  (คนอื่นไปเรียน)
          IBM เป็นผู้สร้าง หลักการ RDBM ที่เราใช้กันน๊ะครับ
          ผมไม่ได้จบ  คอมพ์ - เอกสารนี้ ทำให้ผมเข้าใจเรื่อง Database มาก

- ผมได้มีโอกาสฟังสัมนา โดย คุณสันติ จาก IBM Thailand
         (เป็นคนไทยที่ร่วมพัฒนา DB2 กับ IBM)
         คุณสันติ ได้อธิบาย การทำงาน Database เชิงลึก  ทำให้  ผมเข้าใจ
         และปรับให้เหมาะกับการทำงานจริงได้มาก

- โชคดี  พี่บูลย์ แนะนำคู่มือ สอนเขียน SubFile (เป็นหนังสือสอนเขียนโปรแกรมจาก ญี่ปุ่น)
          (เป็นหนังสือ ที่อยู่ในชั้น สวยงาม - ไม่มีใครอ่าน)
          หนังสืออธิบายตรงกับ หนังสือของ IBM แต่  "ย่อ" จนอ่านง่ายกว่า (ใช้เท่าที่จำเป็น)
   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น